ชื่อสถานที่ : ประวัติการศึกษา

   

   

การศึกษา

          สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารี  ทรงเริ่มต้นการศึกษาระดับอนุบาล  เมื่อพุทธศักราช  ๒๕๐๑  ณ  โรงเรียนจิตรลดา  ในเขตพระราชฐานพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน  พระราชวังดุสิต  และทรงศึกษาต่อในโรงเรียนจิตรลดาจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย  และในปี  พ.ศ. ๒๕๑๕  ก็ทรงสอบไล่จบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย  ในแผนกศิลปะ  ด้วยคะแนนสูงสุดของประเทศ 

หลังจากนั้น  พระองค์ทรงสอบเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา  ณ  คณะอักษรศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยสามารถทำคะแนนสอบเอนทรานซ์เป็นอันดับ  ๔  ของประเทศ  ซึ่งถือเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์แรกที่ทรงเข้าศึกษาตอระดับอุดมศึกษาในประเทศ จนกระทั้ง  ปี  พ.ศ. ๒๕๒๐ พระองค์ทรงสำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาอักษรศาสตร์บัณฑิต  สาขาประวัติศาสตร์  เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง  เหรียญทอง  ด้วยคะแนนเฉลี่ย  ๓.๙๘ 

พระองค์ทรงเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโท  ด้านจารึกภาษาตะวันออก  (ภาษาสันสกฤตและภาษาเขมร)  ณ  คณะโบราณคดีมหาวิทยาลัยศิลปากร  และสาขาภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต  จากภาควิชาภาษาตะวันออก  คณะอักษรศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ในระหว่างนั้น  มีพระราชกิจมากจนทำให้ไม่สามารถทำวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาโทได้พร้อมกันทั้ง  ๒  มหาวิทยาลัย  พระองค์จึงตัดสินพระทัยเลือกทำวิทยานิพนธ์เพื่อให้สำเร็จการศึกษาที่คณะโบราณคดีมหาวิทยาลัยศิลปากรก่อน  โดยทรงทำวิทยานิพนธ์หัวข้อเรื่อง  “จารึกพบที่ปราสาทพนมรุ้ง” ทรงสำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต  และเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรเมื่อวันที่  ๑๑  ตุลาคม  พ.ศ.  ๒๕๒๒  หลังจากนั้น  พระองค์ทรงทำวิทยานิพนธ์หัวข้อเรื่อง  “ทศบารมีในพุทธศาสนาเถรวาท”  ทรงสำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาอักษรศาสตร์มหาบัณฑิต  จากคณะอักษรศาสตรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  และได้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร  เมื่อวันที่  ๙  กรกฎาคม  พ.ศ.  ๒๕๒๔  พระองค์ทรงเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก  ณ  คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  โดยพระองค์ผ่านการสอบคัดเลือกอย่างยอดเยี่ยมด้วยคะแนนเป็นอันดับหนึ่งในบรรดาผู้เข้าสอบทั้งหมด  และทรงเป็นนิสิตปริญญาการศึกษาดุษฏีบัณฑิต  สาขาพัฒนศึกษาศาสตร์  รุ่นที่  ๔  พระองค์ทรงทำวิทยานิพนธ์    ในหัวข้อเรื่อง  “การพัฒนานวัตกรรมเสริมทักษะการเรียนการสอบภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา   ตอนปลาย”  เนื่องจากพระองค์ทรงตระหนักว่าสภาพการเรียนการสอนภาษาไทยนั้นมีปัญหา  เพราะนักเรียน   ไม่ค่อนสนใจเรียนภาษาไทย  มีความรู้  ความสามารถ  ทักษะในการเข้าใจและใช้ภาษาไม่เพียงพอ  พระองค์   จึงทรงนำเสนอวิธีการสอนภาษาไทยในลักษณะนวัตกรรมเสริมทักษะการเรียนการสอน  เพื่อส่งเสริมความสนใจในการเรียนภาษาไทยของนักเรียนและเป็นสื่อที่จะช่วยให้ครูสอนภาษาไทยได้ง่ายขึ้น  พระองค์ทรงสอบผ่านวิทยานิพนธ์อย่างยอดเยี่ยม  สภามหาวิทยาลัยอนุมัติให้ทรงสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอก  เมื่อวันที่  ๑๗  ตุลาคม  พ.ศ.  ๒๕๒๙ 

 


. 1548329337 เข้าชม : 640 ครั้ง | ส่งข่าวนี้ไปที่
สถานที่อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
การรับราชการ

โพตเมื่อ 1548329896
( เข้าชม : 199 ครั้ง )


การสถาปนาพระอิสริยศักดิ์

โพตเมื่อ 1548329708
( เข้าชม : 818 ครั้ง )


ประวัติการศึกษา

โพตเมื่อ 1548329337
( เข้าชม : 640 ครั้ง )


พระราชประวัติ

โพตเมื่อ 1548328618
( เข้าชม : 535 ครั้ง )