ชื่อสถานที่ : ด้านภาษา

ด้านภาษา

          พระองค์ทรงมีความรู้ทางด้านภาษาบาลี  ภาษาสันสกฤต  และภาษาเขมร  ทรงสามารถรับสั่งเป็นภาษาอังกฤษ  ภาษาฝรั่งเศส  และภาษาจีน  และทรงกำลังศึกษาภาษาเยอรมันและภาษาละตินอีกด้วย  ขณะที่ทรงพระเยาว์นั้น  สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์  พระบรมราชินีนาถ  ทรงสอนภาษาไทยแก่พระราชโอรสและพระราชธิดา  โดยทรงอ่านวรรณคดีเรื่องต่างๆ  พระราชทาน  และทรงให้พระองค์ทรงคัดบทกลอนต่างๆ  หลายตอน  ทำให้พระองค์โปรดวิชาภาษาไทยตั้งแต่นั้น  นอกจากนี้  ยังทรงสนพระทัยในภาษาอังกฤษและภาษาบาลีด้วย

          เมื่อพระองค์ทรงเข้าเรียนที่โรงเรียนจิตรลดานั้น  ทรงได้รับการถ่ายทอดความรู้ทางด้านภาษาทั้งภาษาไทย  ภาษาบาลี  ภาษาเขมร  ภาษาอังกฤษ  และภาษาฝรั่งเศส  โดยภาษาไทยนั้น  พระองค์ทรงเชี่ยวชาญทั้งด้านหลักภาษาวรรณคดี  และศิลปะไทย  เมื่อทรงจบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น  พระองค์พอรู้แน่ว่าอย่างไรก็คงไม่ได้เรียนแผนกวิทยาศาสตร์  จึงพยายามหัดเรียนภาษาบาลี  อ่านเขียนอักษรขอมเนื่องจากในสมัยนั้น  ผู้ที่จะเรียนภาษาไทยให้กว้างขวางลึกซึ้ง  จะต้องเรียนทั้งภาษาบาลี  สันสกฤต  และเขมร  ซึ่งภาษาบาลีนั้น   เป็นภาษาที่พระองค์สนพระทัยตั้งแต่ทรงพระเยาว์  แต่ได้เริ่มเรียนอย่างจริงจังในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย  จนสามารถจำการแจกวิกัตติเบื้องต้นที่สำคัญได้  และเข้าพระทัยโครงสร้างและลักษณะทั่วไปของภาษาบาลีได้  นอกจานี้  ยังทรงเลือกเรียนภาษาฝรั่งเศสแทนการเรียนเปียโน  เนื่องจากมีพระราชประสงค์ที่จะอ่านหนังสือภาษาฝรั่งเศสที่มีอยู่ในตู้หนังสือมากกว่าการซ้อมเปียโน  เมื่อทรงเข้าศึกษา  ณ  คณะอักษรศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  นั้น  พระองค์ทรงเลือกเรียนสาขาประวัติศาสตร์  เป็นวิชาเอก  และวิชาภาษาไทย  ภาษาบาลี  และภาษาสันสกฤติเป็นวิชาโท  ทำให้ทรงศึกษาวิชาภาษาไทยในระดับชั้นสูงและละเอียดลึกซึ้งยิ่งขึ้นทั้งด้านภาษาและวรรณคดี  ส่วนภาษาบาลีและสันสกฤตินั้น  ทรงศึกษาทั้งวิธีการแบบดั้งเดิมของไทย  คือ  แบบที่เรียนกันในพระอารามต่างๆ  และแบบภาษาศาสตร์ซึ่งเป็นวิธีการตะวันตก  ตั้งแต่ไวยากรณ์ขั้นพื้นฐานไปจนถึงขั้นสูง  และเรียนตามวิธีการอินเดียโบราณเป็นพิเศษในระดับปริญญาโท  ซึ่งรัฐบาลอินเดียได้ส่งศาสตราจารย์  ดร.สัตยพรต  ศาสตรี  มาถวายพระอักษรภาษาสันกฤต  โดยวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาโทของพระองค์  เรื่องทศบารมีในพุทธศาสนาเถรวาท  นั้น  ยังได้รับการยกย่องจากมหามกุฎราชวิทยาลัยว่า   เป็นวิทยานิพนธ์ที่แสดงถึงพระปรีชาสามารถในภาษาบาลีพุทธวจนะเป็นพิเศษ  พระปรีชาสามารรถทางด้านภาษาของพระองค์นั้นเป็นที่ประจักษ์  จึงได้รับการทูลเกล้าถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางด้านภาษา  จากมหาวิทยาลัยต่างๆ  ทั้งในและต่างประเทศ  เช่น  มหาวิทยาลัยรามคำแหง  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  มหาวิทยาลัยมาลายาประเทศมาเลเชีย  มหาวิทยาลักบักกิงแฮม  สหราชอาณาจักร  เป็นต้น

 


. 1548330466 เข้าชม : 757 ครั้ง | ส่งข่าวนี้ไปที่
สถานที่อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
ด้านพระราชนิพนธ์

โพตเมื่อ 1548331010
( เข้าชม : 903 ครั้ง )


ด้านดนตรี

โพตเมื่อ 1548330737
( เข้าชม : 952 ครั้ง )


ด้านภาษา

โพตเมื่อ 1548330466
( เข้าชม : 757 ครั้ง )