ชื่อสถานที่ : ด้านพระราชนิพนธ์

ด้านพระราชนิพนธ์

          พระองค์โปรดการอ่านหนังสือและการเขียนมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์  รวมกับพระปรีชาสามารถทางด้านภาษาทั้งภาษาไทยและต่างประเทศ  ร้อยแก้วและร้อยกรอง  ดังนั้น  จึงทรงพระราชนิพนธ์หนังสือประเภทต่างๆออกมามากกว่า  ๑๐๐  เล่ม  ซึ่งมีหลายหลากประเภท  ทั้งสารคดีท่องเที่ยวเมื่อเสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศ  เช่น  เกล็ดหิมะในสายหมอก  ทัศนะจากอินเดีย  มนต์รักทะเลใต้  ประเภทวิชาการและประวัติศาสตร์  เช่น  บันทึกเรื่องการปกครองของไทยสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์  กษัตริยานุสรณื  หนังสือสำหรับเยาวชน  เช่น  แก้วจอมแก่น  แก้วจอมซน  หนังสือที่เกี่ยวข้องกับพระบรมวงศานุวงศ์ไทย  เช่น  สมเด็จแม่กับการศึกษา  สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี  กับพระราชกรณียกิจพระราชจริยาวัตรด้านการศึกษา  ประเภทพระราชนิพนธ์แปล  เช่น  หยกใสร่ายคำ  ความคิดคำนึง  เก็จแก้วประกายกวีและหนังสือทั่วไป  เช่น  นิทานเรื่องเกาะ (เรื่องนี้ไม่มีคติ)  เรื่องของคนแขนหัก  เป็นต้น  และมีลักษณะการเขียนที่คล้ายคลึงกับพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  กล่าวคือ  ในพระราชนิพนธ์เรื่องต่างๆ  นอกจากจะแสดงพระอารมณ์ขันแล้ว  ยังทรงแสดงการวิพากษ์  วิจารณ์ในแง่ต่างๆ  เป็นการแสดงพระมติส่วนพระองค์

          นอกจากพระนาม  “สิรินธร”  แล้ว  พระองค์ยังทรงใช้นามปากกาในการพระราชนิพนธ์หนังสืออีก  ๔  พระนาม  ได้แก่  “ก้อนหินก้อนกรวด”  เป็นพระนามแฝงที่ทรงหมายถึง  พระองค์และพระสหาย  สามารถแยกได้เป็น ก้อนหิน  หมายถึง  พระองค์เอง  ส่วนก้อนกรวด  หมายถึง  กุณฑิกา  ไกรฤกษ์  พระองค์มีรับสั่งถึง   พระนามแฝงนี้ว่า  “เราตัวโตเลยใช้ว่า  ก้อนหิน  หวานตัวเล็ก  เลยใช้ว่า  ก้อนกรวด  รวมกันจึงเป็น  ก้อนหิน-ก้อนกรวด” นามปากกานี้  ทรงใช้ครั้งเดียวตอนประพันธ์บทความ  “เรื่องจากเมืองอิสราเอล” เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๐

          “แว่นแก้ว”  เป็นชื่อที่พระองค์ทรงตั้งขึ้นเอง  ซึ่งพระองค์มีรับสั่งถึงพระนามแฝงนี้ว่า  “ชื่อแว่นแก้ว”  นี้ตั้งเองเพราะตอนเด็กๆ  ซื่อลูกแก้ว  ตัวเองอยากชื่อแก้ว  ทำไมถึงเป็นไปไม่รู้เหมือนกัน  แล้วก็ชอบเพลงน้อยใจยานางเอกชื่อ  “แว่นแก้ว” พระนามแฝง  แว่นแก้วนี้  พระองค์เริ่มใช้เมื่อปี  พ.ศ. ๒๕๒๑  เมื่อทรงพระราชนิพนธ์และทรงแปลเรื่องสำหรับเด็ก  ได้แก่  แก้วจอมซน  แก้วจอมแก่น  และขบวนการนกกางเขน  “หนูน้อย”  พระองค์มีรับสั่งถึงพระนามแฝงนี้ว่า  “เรามีชื่อเล่นที่เรียกกันในครอบครัวว่า  น้อย  เลยใช้นามแฝงว่า  หนูน้อย”  โดยพระองค์ทรงใช้เพียงครั้งเดียวในบทความเรื่อง  “ป๋องที่รัก”  ตีพิมพ์ในหนังสือ  ๒๕  ปีจิตรลดา  เมื่อปี  พ.ศ. ๒๕๒๓  และ  “บันดาล”  พระองค์มีรับสั่งถึงพระนามแฝงนี้ว่า  ใช้ว่า  บันดาลเพราะคำนี้ผุดขึ้นมาในสมอง  เลยใช้นามแฝง  ไม่มีเหตุผลอะไรในการใช้ชื่อนี้เลย” ซึ่งพระองค์ทรงใช้ในงานแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยที่ทรงทำให้สำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติ  ว่าด้วยการศึกษา  วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ  กระทรวงศึกษาธิการ  เมื่อปี  พ.ศ. ๒๕๒๖ 

          นอกจากนี้  ยังทรงพระราชนิพนธ์เพลงเป็นจำนวนมาก  โดยบทเพลงที่ดังและนำมาขับร้องบ่อยครั้ง  ได้แก่  เพลงส้มตำ  รวมทั้ง  ยังทรงประพันธ์คำร้องในบทเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช  ได้แก่  เพลงรัก  และเพลงเมนูไข่

 

​​​​​​

 


. 1548331010 เข้าชม : 903 ครั้ง | ส่งข่าวนี้ไปที่
สถานที่อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
ด้านพระราชนิพนธ์

โพตเมื่อ 1548331010
( เข้าชม : 903 ครั้ง )


ด้านดนตรี

โพตเมื่อ 1548330737
( เข้าชม : 952 ครั้ง )


ด้านภาษา

โพตเมื่อ 1548330466
( เข้าชม : 756 ครั้ง )