ชื่อสถานที่ : พระธาตุนคร

พระธาตุนคร  อำเภอเมืองนครพนม  (วันเสาร์) 

พระธาตุนคร

"พระธาตุนคร อ.เมือง จ.นครพนม"
พระธาตุประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันเสาร์
ผู้ใดได้ไปนมัสการ จะได้รับอานิสงส์ให้มีบุญบารมีเป็นเจ้าคนนายคน

 

พระธาตุนคร พระธาตุประจำวันเสาร์
ประดิษฐานที่วัดมหาธาตุ ถ.สุนทรวิจิตร อ.เมือง บรรจุพระอรหันตสารีริกธาตุ พร้อมกับองค์พระพุทธรูปทองคำ และของมีค่าต่างๆ ที่ประชาชนผู้มีจิตศรัทธาได้ถวาย ผู้ที่ไปนมัสการพระธาตุแห่งนี้ จะได้รับอานิสงส์เสริมบุญบารมี และมีอำนาจวาสนาเป็นเจ้าคนนายคน

 สิ่งของบูชาพระธาตุ
ข้าวตอก น้ำอบ ข้าวเหนียวปิ้ง ธูป 10 ดอก เทียน 2 เล่ม

พระธาตุนคร 

              ที่ตั้งวัดมหาธาตุตำบลในเมืองอำเภอจังหวัดนครพนม ประวัติในวันแรกที่พระยามหาอำมาตย์(ป้อม)สร้างเมืองนครพนมขึ้นนั้นมีเพียง วัดมหาธาตุ วัดเดียวเท่านั้นจึงขนานนามว่า วัดมิ่งเมือง(คือวัดมหาธาตุในปัจจุบัน)เป็นวัดใหญ่ประจำเมืองเป็นศูนย์กลางการปกครองการศึกษามีพระมหาเถระมีครูบาอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ้ป็นผู้ปกครองดูแลและอำนวยการศึกษาอยู่เป็นประจำและเป็นที่ประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาของข้าราชการใหญ่น้อยยุคต่อมา วัดมิ่งเมืองชาวบ้านทั่วไปเรียกกันติดปากว่า วัดธาตุ ทั้งนี้เพราะผู้เฒ่าผู้แก่ได้เล่าสู่ลูกหลานเป็นทอด ๆ มาว่าที่วัดมิ่งเมืองนี้มีพระอรหันตสารีริกธาตุ บรรจุอยู่ในธาตุเจดีย์องค์หนึ่งภายในบริเวณวัดมิ่งเมืองมีธาตุเจดีย์ใหญ่บ้างเล็กบ้างหลายสิบองค์เจ้าบ้านผู้ปกครองบ้านเมืองแต่ก่อนนิยมสร้างเจดีย์เป็นที่บรรจุอัฐิของบิดามารดาปู่ย่าตายายไว้ในวัดยิ่งถ้าเป็นผู้ใหญ่ก็นิยมสร้างไว้ในวัดใหญ่วัดมิ่งบ้านมิ่งเมืองเห็นว่าสมกับเกียรติยศเป็นที่เชิดหน้าชูตามีสง่าราศรีความนิยมเช่นนนั้นก็เลยลุกลามมาถึงประชาชนทั่วไปใครสามารถพอจะทำได้ก็ทำและตลอดมาจนถึงปัจจุบันนี้ในวัดจึงเต็มไปด้วยธาตุเจดีย์สร้างขึ้นมาเพื่อบรรจุอัฐิซึ่งไม่เป็นระเบียบเหมือนในปัจจุบัน

 

 ปี พ.ศ. 2462พระครูพนมคณาจารย์เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุและเจ้าคณะจังหวัดนครพนมได้เชิญผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมคือพระยาพนมนครานุรักษ์(อุ้ย นาครทรรภ)ข้าราชการผู้ใหญ่ผู้เฒ่าผู้แก่หลักบ้านหลักเมืองและนิมนต์พระสงฆ์พระผู้ใหญ่ในวัดเข้าร่วมประชุมโดยได้แถลงต่อที่ประชุมว่าอยากจะรื้อถอนธาตุเจดีย์เก่าแก่คร่ำคร่าอันระเกะระกะไม่เป็นระเบียบอยู่ในวัดมากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งอยู่แถวมุมโบสถ์ด้านเหนือและด้านตะวันตกจะทำให้วัดคับแคบลงมากจากธาตุเจดีย์เก่า ๆ ถ้าหากว่ารื้ออกแล้วบริเวณวัดก็จะโล่งกว้างขวางขึ้นหลังจากนั้นก็มีการรื้อถอนพระธาตุเล็กพระธาตุน้อยออกแล้วสร้างพระธาตุนครขึ้นมาใหม่
ในการก่อสร้างประธาตุเจดีย์นี้ในส่วนที่เป็นลวดลายอันวิจิตรบรรจงตระการตาตลอดจนถึงทรวดทรงขนาดและสัดส่วนนั้นเป็นฝีมือของญาท่าวบุบ้านหว้านใหญ่อำเภอมุกดาหารและท่าวม้าวบ้านเสาเล้าอำเภอท่าอุเทน

หลักฐานพระธาตุนครมีลักษณะสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้างด้านละ5.85เมตร สูง24เมตรมีรูปร่างตามแบบพระธาตุพนมองค์เดิมรูปทรงตั้งบนฐานใหญ่2ฐานต่อลดหลั่นกันตามลำดับแต่ละฐานมีรูปประตูอยู่ตรงกลางบนประตูเป็นรูปคล้ายบัวบานมีรูปและลายต่าง ๆ ข้างประตูทำเป็นลายเครือไม้ดอกไม้ผลรูปพระราชาทรงช้างทรงม้าต่อจากฐานใหญ่ทั้งสองขึ้นไปแล้วก็มีลักษณะแหลมเรียวขึ้นไปตามลำดับตอนกลางในด้านทั้งสี่วิจิตรไปด้วยหมู่ดาวกระจาย(ดอกกระจับ)สูงถัดขึ้นไปทำเป็นรูปตู้หนังสือ พระไตรปิฎกโบราณต่อขึ้นไปอีกแล้วทำเป็นรูปลักษณ์คล้ายกลีบบัวอีกที่ยอดสุดก็คล้ายดอกบัวตูมต่อจากนี้จึงเป็นฉัตรทองแดงเหลืองเจ็ดชั้นยอดฉัตรนี้มีลูกแก้วเจียรไน1ดวงอยู่สูงสุดยอด ฐานมีกำแพงล้อมรอบทั้ง4ด้าน มีซุ้มประตูอยู่ตรงการทุกด้านเหนือซุ้มประตูมีรูปปั้นเทพนั่งขัดสมาธิประนมมือ(เทพพนม)ซึ่งเป็นเทพมเหศักดิ์พิทักษ์พิทักษ์รักษาองค์พระธาตุที่มุมกำแพงมีเสาสูงขึ้นแล้วทำเป็นดอกบัวตูมบนยอดเสาภายในกำแพงกว้างด้านละ13.30เมตรนอกกำแพงมีธาตุดูกล้อมอีกชั้นหนึ่งบนธาตุนั้นเป็นที่สำหรับวางดอกไม้ธูปเทียนในคราวมีงานพิธีต่าง ๆ

พระธาตุเจดีย์องค์นี้ก่อสร้างเสร็จสิ้นลงในวันเดือนเพ็ญของปี พ.ศ. 2465จึงได้มีการกำหนดวันที่จะทำการฉลอง เพื่อบรรจุพระอรหันตสารีริกธาตุพร้อมกับองค์พระพุทธรูปทองคำและเงินบรรจุผอบไม้จันทร์แดงที่ได้มาจากพระธาตุเจดีย์องค์เดิมนั้นเองทั้งยังได้เปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใสได้นำเครื่องลางของขลังครุฑ ขอ นอ งา ตะกรุด หรือเพชรนิลจินดาเงินทองตลอดจนพระพุทธรูปเก่าแก่และของมีค่าอื่นใดที่พระสงฆ์จะนำเข้าบรรจุไว้ก็ย่อมทำได้แล้วตกลงพร้อมกันกำหนดวันจัดงานฉลองสมโภชขึ้นในวันขึ้น13ค่ำ ถึงวันแรม1ค่ำเดือน6ปี พ.ศ. 2465ส่วนงานฉลองสมโภชซึ่งถือเป็นงานประจำปีในวันขึ้น15ค่ำ เดือน5ของทุก ๆ ปี อายุ ราว70 -- 80ปี

 


. 1548053362 เข้าชม : 2,549 ครั้ง | ส่งข่าวนี้ไปที่
สถานที่อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
ชนเผ่าไทกวน 

โพตเมื่อ 1548333780
( เข้าชม : 3,111 ครั้ง )


ชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม 

โพตเมื่อ 1548333714
( เข้าชม : 2,783 ครั้ง )


ชาวไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดนครพนม

โพตเมื่อ 1548333572
( เข้าชม : 3,329 ครั้ง )


ชนเผ่าไทยอีสาน (ลาว)

โพตเมื่อ 1548333498
( เข้าชม : 3,325 ครั้ง )


ไทยข่า

โพตเมื่อ 1548333415
( เข้าชม : 2,471 ครั้ง )


เผ่าไทยโส้หรือไทยกะโซ่ 

โพตเมื่อ 1548333318
( เข้าชม : 2,555 ครั้ง )


เผ่าไทแสก 

โพตเมื่อ 1548333182
( เข้าชม : 2,210 ครั้ง )


เผ่าไทยกะเลิง

โพตเมื่อ 1548333079
( เข้าชม : 2,868 ครั้ง )


ชนเผ่าผู้ไทย  

โพตเมื่อ 1548332900
( เข้าชม : 2,428 ครั้ง )


ชนเผ่าไทยญ้อ (ญ้อ)

โพตเมื่อ 1548332800
( เข้าชม : 2,744 ครั้ง )