ชื่อสถานที่ : ชนเผ่าไทกวน |
---|
ชนเผ่าไทกวน
ประวัติความเป็นมา ปัจจุบันอาศัยอยู่ในพื้นที่บ้านนาถ่อน ตำบลนาถ่อน อำเภอธาตุพนม ชนเผ่าไทกวนอพยพจากสิบสองจุไทในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๒ มีการอพยพครั้งสำคัญ ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มของขุนบรมมาตั้งเมืองที่มานาน้อยอ้อยหนูหรือเมืองแถง ส่วนปู่แสนบางนางแสนเก้าได้อพยพมาทางใต้และตั้งเมืองปุงลิง เมืองวังคำอยู่ที่บริเวณเซน้อย หรือเซบั้งไฟอันที่ราบหุบระหว่างหุบเขาที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “กวน” คำว่ากวนในที่นี้หมายถึง ชาวไทพวนที่อพยพลงมาตั้งชุมชน เมื่อเวลาผ่านไปคำว่า “ไทพวน” จึงเพี้ยนมาเป็น “ไทกวน”
วัฒนธรรมและความเชื่อ ชนเผ่าไทกวนนับถือผีบรรพบุรุษ โดยในวันที่ ๒๕ ตุลาคม ของทุกปี
จะมีพิธีการรำบวงสรวง ศาลปู่ตาแสง เพื่อปกปักรัษาคนในชุมชน นอกจากนี้ยังมีวัฒนธรรมการฟ้อนรำไทกวน โดยเลียนแบบท่าจากสัตว์ป่า ได้แก่ ช้างขึ้นภู งูเล่นหาง กวางโชว์เขาเสือออกเหล่า เต่าออกลาย ควายตั้งท่าม้าออกศึก ระทึกกระทิงเปลี่ยว ขับเคี่ยวขบวนลิง สิงห์คำราม ในด้านวัฒนธรรมทางภาษา ภาษาพูดของชนเผ่าไทกวนมีความคล้ายคลึงกับภาษาผ้ำทย จะใช้สระโอะ แทนสระออ เช่น
อีโพ๊ะ หมายถึง พ่อ
พร้าโก๊ะ หมายถึง มีดโต้
เฮา , โต๋ หมายถึง เรา , ท่าน